Acoustic curtains


Acoustic curtain หรือ “ม่านกันเสียง” ผลิตขึ้นจากวัสดุกันเสียงและวัสดุซับเสียงซึ่งเย็บติดกับผ้ากันไฟหรือผ้ากันน้ำ เพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้งานในสภาวะแวดล้อมที่แหล่งกำเนิดเสียงทำงานอยู่ วิธีการใช้งานคือการนำ “ผ้าม่านกันเสียง” ไปกั้นล้อมรอบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีเสียงดังรบกวนขณะทำงาน โดยม่านกันเสียงจะทำหน้าที่ซับเสียงหรือลดความเข้มเสียงให้บรรเทาเบาบางลง เมื่อคลื่นเสียงทะลุผ่านม่านกันเสียงออกไป ระดับเสียงก็จะเบาลงจนรู้สึกได้ สิ่งที่ต้องระวังคือแหล่งกำเนิดเสียงหรือเครื่องจักรแต่ละประเภท จะมีลักษณะเสียง (noise character) ที่ไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นเครื่องจักรยี่ห้อเดียวกันหรือแม้กระทั่งรุ่นเดียวกันก็ตาม แต่ตำแหน่งที่ตั้ง วิธีการติดตั้ง และสภาพแวดล้อมที่วางเครื่องจักร ก็จะส่งผลทำให้ลักษณะเสียงต่างกัน ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญต่อการออกแบบและเลือกใช้วัสดุสำหรับผลิตม่านกันเสียงนั้นด้วย

Acoustic curtains

ม่านกันเสียงเหมาะกับการนำมาใช้ในโรงงานหรือพื้นที่การผลิตทั้งแบบเฉพาะจุดและแบบแถวยาว เช่น การติดตั้งม่านกันเสียงล้อมรอบจุดที่มีการติดตั้งปั๊มน้ำและมอเตอร์ หรือการติดตั้งม่านกันเสียงเต็มพื้นที่ในแนวยาวหลายสิบเมตร สำหรับกันเสียงหรือลดเสียงจากระบบถังผสมสี ที่วางอยู่ในแนวเดียวกันตลอดทั้งไลน์ ข้อดีของการเลือกใช้ม่านกันเสียงคือเป็นการติดตั้งระบบลดเสียงดังกึ่งถาวร สามารถถอดออกได้ทั้งหมดเมื่อไม่ต้องการใช้ หรือถอดออกได้เป็นบางจุดในกรณีที่ต้องมีการเข้าถึงหรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร นอกจากนี้การติดตั้งซึ่งเป็นลักษณะของการผลิตมาจากข้างนอกโรงงาน (pre fabrication) ทำให้การติดตั้งที่หน้างานทำได้รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการก่อสร้างผนังกันเสียง และที่สำคัญคือไม่กระทบหรือไม่ต้องหยุดกระบวนการผลิตสินค้าของลูกค้า

Newtech Insulation ให้บริการออกแบบ ผลิตและติดตั้งผ้าม่านกันเสียง พร้อมการวัดเสียงก่อนและหลังการติดตั้ง เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้เป็นข้อมูลในงานปรับปรุงเรื่องมลภาวะทางเสียง โดยทั่วไปแล้วม่านกันเสียงที่เราผลิตและติดตั้งจะช่วยกันเสียงจากเครื่องจักรได้ตั้งแต่ 5-10 dBA และแนะนำให้ใช้กับแหล่งกำเนิดเสียงที่มีลักษณะเสียงแบบต่อเนื่อง ที่มีความเข้มเสียงช่วงความถี่กลางถึงความถี่สูง ส่วนเรื่องการติดตั้งนั้นลูกค้าสามารถเลือกได้ว่า ต้องการนำม่านกันเสียงไปติดตั้งเอง หรือต้องการให้ทาง นิวเทค อินซูเลชั่น ทำการออกแบบพร้อมติดตั้งและรับประกันเรื่องเสียงที่จะลดลงให้ด้วยเลยก็ได้ ม่านกันเสียงจากทางบริษัทฯ ผลิตจากวัสดุไม่ลามไฟ กันน้ำ กันสารเคมี ทนต่อยูวีและกรดด่าง สามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร

แนวทางการเลือกใช้ม่านกันเสียงเพื่อลดเสียงดังรำคาญ

  • งานแก้ปัญหาเสียงดังที่ไม่ต้องการลงทุนสูง
  • งานลดเสียงดังของเครื่องจักรแบบชั่วคราว
  • ต้องการกันเสียงและต้องการเข้าถึงเครื่องจักรได้โดยสะดวก
  • เครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิดเสียงที่ระดับเสียงไม่เกิน 90 dBA
  • เครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิดเสียงที่ไม่ได้มีความสั่นสะเทือนเกินกว่ามาตรฐาน
  • มีพื้นที่ในโรงงานจำกัด ไม่สามารถสร้างกำแพงหรือผนังกันเสียงได้
  • ข้อจำกัดของเครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิดเสียงที่ไม่สามารถทำห้องเก็บเสียงได้
  • ต้องการลดเสียงและระบายความร้อนของเครื่องจักรไปพร้อมกัน
  • แหล่งกำเนิดเสียงที่ต้องการการระบายอากาศ หรือมีการดูดลมเข้า เป่าลมออก

ข้อดีของ “ม่านกันเสียง”

  • ภายหลังติดตั้งช่วยลดระดับเสียงลงได้ตั้งแต่ 5-10 dBA
  • ใช้เวลาในการออกแบบ ผลิต และติดตั้งน้อยกว่าผนังกันเสียง
  • ติดตั้งได้เอง ง่ายและสะดวก ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือช่างเฉพาะทาง
  • เลือกรูปแบบของการติดตั้งได้หลากหลาย เช่น แบบแขวน แบบรางเลื่อน
  • ทนแดด ทนฝน และทำความสะอาดได้
  • ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
  • ปลอดภัยจากอุบัติเหตุไฟไหม้หรือสะเก็ดไฟ เพราะผลิตจากวัสดุไม่ลามไฟ

กรณีศึกษาการแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนด้วย “ม่านกันเสียง รุ่น NTS25

โรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่งซึ่งมีพื้นที่สำหรับกระบวนการผลิตมากกว่า 2,000 ตร.ม. ประสบปัญหาเสียงดังเกินกว่า 90 dBA ในพื้นที่การบรรจุถุงที่มีพนักงานทำงานกะละ 15 คน ทำงานจำนวนสองกะในแต่ละวัน โดยมีแหล่งกำเนิดเสียงหลักคือเครื่องเย็บถุงที่ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งอยู่ใกล้กับระบบสายพานลำเลียงที่เป็นโลหะ เมื่อกระบวนการผลิตทำงานเต็มที่พบว่าระดับเสียงเฉลี่ยที่พนักงานฝ่ายบรรจุถึงได้รับสูงถึง 92-96 dBA เพื่อป้องกันมิให้พนักงานแผนกบรรจุถุงมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพและทางผู้จัดการโรงงาน จึงเห็นควรให้จัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน พร้อมกำหนดให้มีการลดระดับเสียงลงให้ได้ต่ำกว่า 85 dBA โดยต้องการให้มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นน้อยที่สุดและมีการดำเนินการให้แล้วเสร็จเร็วที่สุด

เมื่อทำการเข้าวัดเสียงและเก็บข้อมูลที่แหล่งกำเนิดเสียงคือบริเวณเครื่องเย็บถุง พบว่าเสียงที่เกิดขึ้นเป็นเสียงที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งย่านความถี่ต่ำคือ 125Hz และ 250Hz รวมไปถึงความถี่สูงคือตั้งแต่ช่วง 4000Hz ไปจนถึง 8000Hz แนวทางการแก้ปัญหาด้านเสียงที่เหมาะสมควรจะแก้ทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูงไปพร้อมกัน นั่นคือการใช้ acoustic enclosure หรือห้องครอบลดเสียง ติดตั้งไปที่บริเวณเครื่องเย็บถุง

แต่เนื่องจากลูกค้ามีงบประมาณและเวลาที่จำกัด การเลือกใช้ม่านกันเสียง (acoustic curtains) ที่มีส่วนประกอบของวัสดุซับเสียงและวัสดุกันเสียงที่เหมาะสมกับคลื่นความถี่ที่เกิดจากเครื่องเย็บถุงทำงาน ก็น่าจะลดเสียงลงได้ไม่น้อยกว่า 6-8 dBA เมื่อฝ่ายออกแบบและวิศวกรรมของทาง นิวเทค อินซูเลชั่น ลองทำการจำลองตัวแบบของม่านกันเสียงแต่ละรุ่นของบริษัทฯดู พบว่าม่านกันเสียงรุ่น NTS25 เหมาะกับการใช้แก้ปัญหานี้ที่สุด ทั้งเรื่องประสิทธิภาพในการลดเสียงและราคาที่อยู่ในงบประมาณของทางลูกค้า

จากการติดตั้งม่านกันเสียงรุ่น NTS25 (หนา 25mm) ซึ่งมีความสูงของม่าน 3 เมตรและมีความยาวของม่านตลอดแนวไลน์ผลิตของเครื่องเย็บถุงคือ 25 เมตร และทำการวัดเสียงบริเวณที่พนักงานทำงานอยู่พบว่าระดับเสียงลดลงไป 11 dBA ดังรายละเอียดในตาราง

Tips: วิธีการคำนวณหาค่าการสัมผัสเสียง (Noise Dose)

Noise dose คือปริมาณการสัมผัสเสียงสูงสุดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ จากการได้ยินเสียงของกิจกรรมในแต่ละวัน มีหน่วยวัดเป็นร้อยละ (percentage) นิยมใช้ในโรงงานสำหรับเป็นค่าควบคุมมิให้พนักงานได้รับเสียงมากเกินไป จนเป็นอันตรายต่อระบบการได้ยิน

ค่าการสัมผัสเสียง = จำนวนเวลาที่ได้รับเสียง / จำนวนเวลาที่ยอมให้อยู่ในแหล่งกำเนิดเสียงนั้นได้

or

4

                                        เมื่อ       D  =  ค่าการสัมผัสเสียง (%)

                                                     Ci  =  จำนวนเวลาทั้งหมดที่ได้รับเสียง ( ถ่วงน้ำหนักแบบ Α or dBA)

                                                     Ti  =  จำนวนเวลาอ้างอิงที่ยอมให้อยู่ในแหล่งกำเนิดเสียงนั้นได้

ตัวอย่าง

พื้นที่การผลิตในโรงงานหนึ่งพบว่าพนักงานแผนกขัดโลหะ ได้รับเสียงจากเครื่องขัดต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ชั่วโมงที่ระดับ 92 dBA โดยไม่หยุดพัก จากนั้นต้องนำชิ้นงานที่ขัดเสร็จแล้วมาพ่นทรายต่ออีก 1 ชั่วโมงวัดเสียงได้ 94 dBA โดยหยุดพัก 3 ครั้ง ก่อนทำการพ่นสีรองพื้นต่ออีก 1 ชั่วโมงที่ระดับเสียง 78 dBA โดยไม่หยุดพัก ต้องการทราบว่าพนักงานแผนกขัดโลหะ สัมผัสเสียงเกินกว่าเกณฑ์การสัมผัสเสียงหรือไม่

วิธีคำนวณจากสมการ

4

ใช้ตารางการสัมผัสเสียงของหน่วยงาน Committee on Hearing, Bioacoustic and Biomechanic Administration (CHABA) ในการพิจารณาการสัมผัสเสียงที่ระดับเสียงต่างๆ พร้อมจำนวนการหยุดพักการทำงาน

จะได้ว่า

6

เพราะฉะนั้น

7

หรือกล่าวได้ว่า พนักงานแผนกขัดโลหะในโรงงานนี้ ได้รับเสียงจากการทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน อยู่ในเกณฑ์ของค่าการสัมผัสเสียง